วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

โครงการพัฒนาระบบ บริษัท BMW (ประเทศไทย) จำกัด







    โครงการพัฒนาระบบ  
บริษัท BMW  (ประเทศไทย)  จำกัด

เสนอ
อาจารย์ นพศักดิ์            ตันติสัตยานนท์


จัดทำโดย
        นางสาวเกตุกนก       เอี่ยมแก้ว   
  รหัส 2571031441333

                                                    
      นางสาวธีราภรณ์      เมืองถาวร     
รหัส 2571031441336
                                                        

คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี

 สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตวังไกลกังวล


คำนำ
                รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา Management Information System IFT 3217  เป็นระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะรวมทั้ง สารสนเทศภายในและภายนอกองค์กร สารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งสิ่งที่คาดว่าจะเป็นในอนาคต และกลุ่มข้าพเจ้าได้จัดทำการวางแผนงานโครงการพัฒนาระบบ บริษัท BMW (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับผู้ต้องการศึกษาค้นคว้าในรายวิชาวิชา Management Information System ทำให้ผู้ศึกษาสามารถนำทฤษฏี และขั้นตอนปฏิบัติต่างๆ ที่ได้จากรายงานเล่มนี้มาปรับใช้กับการเรียนวิชา Management Information System ในระดับที่ท่านต้องการศึกษา
               รายงานฉบับนี้มีเนื้อหาเข้าใจง่าย และมีเนื้อหาสาระค่อนข้างมาก ทางคณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้ศึกษาทุกท่านจะได้รับประโยชน์จากการศึกษาจากรายงานเล่มนี้ไม่มากก็น้อย  หากมีข้อบกพร่องประการใด คณะผู้จัดทำขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                       จัดทำโดย
                                                                                                                                                             สมาชิกในกลุ่ม


สารบัญ
           เรื่อง                                                                                                    
การวางแผนงานโครงการ
แผนกขาย
แผนกคลังสินค้า
ระบบสารสนเทศที่นามาใช้กับแผนกต่างๆ
ระบบ MIS ของแผนก บัญชีและการเงิน
ระบบสารสนเทศสำหรับฝ่ายบัญชีและการเงิน
แบบจำลองขั้นตอนการทำงานของระบบจำ ลองขั้นตอนการทำ งานของระบบ
อธิบาย
 Context Diagram
แผ่นภาพระดับ
 0
แผ่นภาพระดับ
 1
การออกแบบ
 Application
ระบบสารสนเทศสำหรับ ฝ่ายขาย
ระบบงานประยุกต์ / ระบบการวางแผนการขายและการตลาด
ระบบสารสนเทศสำหรับ ฝ่ายสินเชื่อ
ระบบงานประยุกต์ / ระบบการวางแผนการขายและการตลาด
การกำหนดความต้องการของระบบ
ความต้องการของระบบใหม่ของผู้ใช้
 
Context Diagram
Dataflow Diagram
ระบบการขาย
ระบบสินเชื่อ 
ระบบบัญชี


 โครงการพัฒนาระบบ  บริษัท BMW  (ประเทศไทย)  จำกัด


ความเป็นมา



            riedrich Karl Rapp คือชื่อของผู้ก่อตั้ง BMW   หนึ่งของโลกที่ใหญ่ที่สุด บริษัท ผลิตรถยนต์ทั่ว BMW หรือชื่อเต็มในภาษาเยอรมันว่า  Bayerische Motoren Werke (Bavarian Motor Works) ก่อตั้งขึ้นในปี 1916 เป็นผู้สืบทอดที่ Rapp มอเตอร์           หลายคนคิดว่าโลโก้ของ BMW มาจากใบพัดสีขาวหมุนเห็นพื้นหลังของสีฟ้าที่ นี้อาจจะให้ แต่ในความเป็นจริงมันเป็นที่รู้จักกันว่ายังมาจากธงสีขาวและสีฟ้าของบาวา เรีย  รัฐใหญ่ที่สุดของเยอรมนี เมืองหลวงของรัฐคือมิวนิ คและเป็นสถานที่ที่แม้วันนี้เราสามารถหาสำนักงานใหญ่ BMW

            หลายคนคิดว่าโลโก้ของ BMW มาจากใบพัดสีขาวหมุนเห็นพื้นหลังของสีฟ้าที่ นี้อาจจะให้ แต่ในความเป็นจริงมันเป็นที่รู้จักกันว่ายังมาจากธงสีขาวและสีฟ้าของบาวา เรีย  รัฐใหญ่ที่สุดของเยอรมนี เมืองหลวงของรัฐคือมิวนิ คและเป็นสถานที่ที่แม้วันนี้เราสามารถหาสำนักงานใหญ่ BMW            แต่ใน 1919 หลังสงครามโลกครั้งและสนธิสัญญาแวร์ซายการผลิตเครื่องบินในประเทศเยอรมนีได้ ห้ามและที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วการเมืองของ BMW พวกเขาเริ่มทำเบรกสำหรับ การขนส่งทางรถไฟ หลังจากที่ BMW ก็สามารถออกแบบเครื่องยนต์รถจักรยานยนต์ซึ่งใช้สำหรับการสร้างรถมอเตอร์ไซค์ ที่มีชื่อเรียกว่ารุ่น Victoria Victoria แต่ไม่ได้สร้างโดย BMW แต่ บริษัท อื่นใน Nuremberg
             1924 BMW ทำในรูปแบบของรถจักรยานยนต์ที่เป็นครั้งแรกหนึ่งพวกเขาสร้าง  R32 นี้เป็นจุดเปลี่ยนใน ประวัติศาสตร์ BMW เพราะมันเป็นความสำเร็จที่สำคัญและทศวรรษที่พวกเขาใช้เทคโนโลยี 500 ซีซีของเครื่องยนต์เย็นลงโดยอากาศ หลังจากที่ BMW เพิ่มหนึ่งนวัตกรรมใหม่ driveshaft มาแทนสายสำหรับการขับขี่ ที่ล้อหลังและเป็นเครื่องหมายของ BMW สำหรับค่อนข้างบางเวลา
            ในเยอรมันเมือง Eisenach ในปี 1927 เริ่มผลิต Dixi  ภายใต้ใบอนุญาต แต่เพียงหนึ่งปีหลังจากที่ บริษัท Dixi ถูกซื้อโดย BMW และพวกเขาเริ่มผลิตมวลร่วมกับรุ่น Austin Seven               เมื่อสงครามโลกครั้งที่ เริ่ม BMW เอาสถานที่ในนั้นเพราะทางฝ่ายกองทัพของเยอรมัน พวกเขาใช้ BMW R75 พร้อมกับ BMW R12 เพราะต้องสูงของเครื่อง ยนต์ BMW บันทึกที่ระยะเวลาเป็นผลกำไรสูง BMW เป็นผู้ผลิตหลักและแม้คำนี้เช่น Wehrmacht Luftwaffe และนำความทรงจำมากมาย ของเครื่องบินที่ดีที่สุด ในครั้งประวัติศาสตร์ที่ใช้ BMW เครื่องยนต์ – Aero และจนถึง 1945 กว่า 30 000 เครื่องบินกับเครื่องมือเหล่านี้ผลิต              BMW ได้ทำวิจัยซึ่งทำให้ บริษัท เพื่อให้เครื่องยนต์เจ็ทที่แตกต่างกันสำหรับอาวุธ ด้วยการใช้อำนาจบางคนซึ่ง ประกอบด้วยส่วนใหญ่นักโทษของสงคราม BMW ที่ทำอาวุธจรวดตามจำนวนมากที่ถูกใช้ในสงคราม            หลังจากการสร้างอาวุธจรวด ตามส่วนของ บริษัท มี bombed โซเวียตวอดส่วนใหญ่ของ บริษัท ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกของเยอรมนีและโรงงานฐานในมิวนิคถูกทำลายเกือบสมบูรณ์             หลังจากสงคราม BMW ไม่สามารถกู้คืนได้อย่างรวดเร็วเพราะต้องสร้างโรงงานในมิวนิคที่ หลังจากที่เมื่อข้อ จำกัด จากพันธมิตรที่ใช้กับ BMW ถูกห้ามยาวสามปีที่ บริษัท ถูกห้ามจากการผลิตรถจักรยานยนต์และรถยนต์จน 1948 ถึง 1952              ใน 1951 บริษัท บาวาเรียก็สามารถคืนเครื่องหมายการค้าและมันดูเหมือนเป็นที่สุดสามารถกู้และ เริ่มต้นใหม่จากสิ่งที่เหลือ ในปี 1959 Herbert Quandt กลายเป็นล้อที่เปิด BMW รอบเพราะเขาปฏิเสธจัดการกับ Daimler – Benz และทันทีหลังจากที่เขาเพิ่มขึ้นของหุ้นใน บริษัท BMW ได้ถึง 50%                ชื่อของ Kurt Golda เป็นดังคนที่ incited Quandt ทำขั้นตอนนี้และในปีเดียวกัน BMW เริ่มผลิตของ BMW 700 ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของ BMW 600 นี้รถยนต์ขนาดเล็กใช้ 2 สูบอากาศเย็นเครื่องยนต์และหลายปีต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น LS” Coupe และชุดรถคับเบรียเลต์บางคนยังผลิต               ในปี 1963 BMW เสนอเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นของ บริษัท และในปี 1966 โรงงานในมิวนิคมาถึงความจุสูงสุดและ BMW ซื้อ Hans Glas GmbH ข้อนี้ใช้ BMW เพื่อใช้ในโรงงาน Landshut และ Dingolfing กับรูปแบบใหม่ที่ให้ Bertone ในปี 1972 BMW เริ่มผลิตชุดใหม่ 5 และในปีต่อ บริษัท ที่ทำก้าวหน้าใหญ่ในตลาด 6 ปีภายใต้การนำของ Bernd Pischetsrieder BMW ได้สามารถขยายการจัดการในตลาดโดยการซื้อจาก British Aerospace Rover Group ประวัติ Rover กลุ่มเริ่มต้นในปี 1986 และจนถึงขณะเมื่อ BMW มันเป็นของ บริษัท นี้ก็สามารถบรรลุสิ่งหลายอย่างเช่น Rover 400 ในปี 1990  แต่ Rover ถูกขายให้กับ Phoenix Holdings Venture และ Ford Motor Company เพราะบางปีขาดทุน BMW ตลกกดเรียก Rover”ผู้ป่วยอังกฤษหลังจากที่ออกภาพยนตร์ที่คนชื่อซ้ำกับคนอื่น นี้ แต่ไม่ยากที่ BMW และพวกเขาได้งดเว้นจากการตำหนิ ดูเหมือนว่าแม้แต่กด British ไม่มากกระตือรือร้นเกี่ยวกับ Rover                  BMW เริ่มผลิตนอกประเทศเยอรมนีในปี 1994 โรงงานใหม่ที่ทำใน South Carolina และวันนี้ยังผลิต BMW X5 และ BMW Z4 ทำมี มีโรงงานในสถานที่อื่น ๆ บางอย่างก็เป็นเช่น Oxford, Goodwood และอื่นๆ หลังจากเวลาในการชุมนุม BMW เริ่มผลิตในแอฟริกาใต้ ส่งออกวันนี้ BMW กว่า 50 000 3 คัน Series ปีญี่ปุ่น, อเมริกา, แอฟริกา, ออสเตรเลียและตะวันออกกลาง  เพื่อรองรับตลาดในยุโรป ตะวันออกและตะวันออกกลาง BMW วางแผนที่จะเริ่มการก่อสร้างโรงงานใหม่หรืออยู่ในไซปรัสกรีซ พืชใน Chennai, อินเดียแล้วเปิดการผลิตในปี 2007


การดำเนินงานของธุรกิจ


1.  รับสมัครสมาชิกเข้าร่วมทำธุรกิจ
2.  รับสมัครผู้บริหารคลังสินค้า
3.  บริหารองค์กรด้วยธุรกิจเครือข่าย
4.  บริการจำหน่ายสินค้า


ภารกิจหลักของบริษัท


1. บริการที่ดีมีคุณภาพให้กับลูกค้า

2. จัดจำหน่ายสินค้าด้วยราคาที่ยุติธรรม




วัตถุประสงค์ของบริษัท



1. เพื่อเพิ่มจำนวนลูกค้าให้มากขึ้น

2. เพื่อเพิ่มภาพลักษณ์ที่ดีให้กับบริษัท
3. เพื่อการผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐาน
4. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้กับพนักงาน
5. เพื่อลดต้นทุนในการผลิต
เป้าหมายของบริษัท

- เพื่อสร้างผลกำไรสูงสุด

โครงสร้างของบริษัทฮอนด้า

(รูปที่ 1)


ผังองค์กร บริษัท BMW (ประเทศไทย) จำกัด

แผนกขาย

หน้าที่ของแผนกขาย
             มีหน้าที่ในการบริการจำหน่ายสินค้าให้กับลูกค้า  โดยแผนกขายจะมีการเก็บข้อมูลของลูกค้าที่มาสั่งซื้อ  และข้อมูลการสั่งซื้อ

ปัญหาของแผนกขาย
1.เอกสารมีจำนวนมาก  ทำให้การจัดเก็บไม่เป็นระเบียบ  ซึ่งมีเอกสารดังนี้
            1.1  เอกสารข้อมูลลูกค้า
            1.2  เอกสารข้อมูลการสั่งซื้อสินค้า
            1.3  เอกสารเกี่ยวกับสินค้า
2.เปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บแฟ้มเอกสาร  เพราะเอกสารทุกชนิดจะจัดเก็บภายในแฟ้ม
3.ค้นหาเอกสารได้ยาก  เนื่องจากเอกสารมีเยอะและจัดเก็บไว้หลายที่
4.ข้อมูลมีการสูญหาย  เพราะไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าเอกสารที่ต้องการอยู่ตรงไหน  
เนื่องจากการเก็บเอกสารยังไม่เป็นระบบ  อาจทำให้บริษัทได้รับความเสียหาย
5.ข้อมูลมีความซ้ำซ้อน  เนื่องจากลูกค้า 1 ท่านมาซื้อสินค้าหลายครั้ง  แต่พนักงานขายก็เก็บข้อมูลทุกครั้ง  ทำให้มีเอกสารซ้ำซ้อน
6. ข้อมูลมีความแตกต่าง  เนื่องจากในการให้ข้อมูลของลูกค้าแต่ละครั้งมีความเปลี่ยนแปลงเช่น  เบอร์โทรศัพท์  ที่อยู่  เพราะลูกค้าอาจจะมีเบอร์โทรศัพท์หลายเบอร์และมีการย้ายสถานที่อยู่เรื่อย  ๆ

แผนกบัญชี

หน้าที่ของแผนกบัญชี
               มีหน้าที่ในการจัดเก็บเงินค่าสินค้าและจัดทำบัญชีของบริษัทพร้อมทั้งทำรายงานงบการเงินเสนอผู้บริหาร  โดยรับข้อมูลการสั่งซื้อจากแผนกขาย

ปัญหาของแผนกบัญชี
1.เอกสารมีจำนวนมาก  และจัดเก็บไม่เป็นระเบียบ 
2.เปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บแฟ้มเอกสาร  เพราะเอกสารทุกชนิดจะจัดเก็บภายในแฟ้ม
3.ค้นหาเอกสารได้ยาก  เนื่องจากเอกสารมีจำนวนมากและยังจัดเก็บไม่เป็นระบบ
4.เอกสารสูญหาย  เพราะเอกสารมีจำนวนมาก และเอกสารส่วนใหญ่เป็นเอกสารที่เกี่ยวกับการเงิน หากสูญหายอาจทำให้บริษัทได้รับความเสียหายอย่างมาก
 5.การตรวจสอบเกี่ยวกับข้อมูลทางการเงินทำได้ช้า ไม่สะดวกรวดเร็ว
6.ข้อมูลอาจเกิดการผิดพลาดได้ถ้าเอกสารไม่ถูกต้องหรือเอกสารสูญหาย
7.รายงานทางการเงินที่ทำโดยมือจะทำให้เข้าใจได้ยาก เนื่องจากลายมือหรือรูปแบบของรายงานเพราะจะมีความหลากหลายและมีความแตกต่างกันไป

แผนกซ่อมบำรุง / ให้บริการ

หน้าที่ของแผนกซ่อมบำรุง / ให้บริการ
                มีหน้าที่ในการให้บริการทางด้านการซ่อมรถจักรยานยนต์ให้แก่ลูกค้า และตรวจเช็คสภาพรถ 

ปัญหาของแผนกซ่อมบำรุง / ให้บริการ
1.มีปัญหาเรื่องการวินิจฉัยปัญหาไม่ตรงจุด
2.ขาดความรู้ความสามารถในการบริการ
3.ขาดการดูและบำรุงรักษาเครื่องมือที่ใช้ในงานซ่อม
4.ซ่อมรถไม่เสร็จตามเวลานัดหมาย
5.ขาดการสื่อสารที่ดีระหว่างพนักงานด้วยกัน

แผนกคลังสินค้า

หน้าที่ของแผนกคลังสินค้า
               มีหน้าที่ในการดูแลความเรียบร้อยและตรวจเช็คสินค้าที่อยู่ในคลังสินค้า รวมทั้งสั่งซื้อสินค้ามาเก็บไว้ในคลังสินค้า

ปัญหาของแผนกคลังสินค้า
1. จัดหาอะไหล่ไม่ตรงกับที่ฝ่ายบริการต้องการใช้ในการซ่อม
2. ค้นหาเอกสารข้อมูลสินค้าได้ยาก เนื่องจากเอกสารมีจำนวนมากและยังจัดเก็บไม่เป็นระบบ
3. ในการเช็คสต็อกอาจเกิดความผิดพลาดขึ้น เนื่องจากสินค้าจัดเก็บอยู่หลายที่ทำให้อาจลืมเช็ค
4.ข้อมูลสินค้าสูญหายทำให้จำนวนสินค้าภายในคลังสินค้าอาจไม่พอหรือว่ามีจำนวนสินค้ามากเกินไปเนื่องจากไม่สามารถเช็คได้ว่าในคลังสินค้ามีจำนวนสินค้าอยู่เท่าไร
5. การสต็อกอะไหล่ไม่เพียงพอ

ปัญหาระหว่างแผนก

ปัญหาระหว่างแผนกงานขายกับแผนกงานบัญชี 
1. หากแผนกขายไม่นำเอกสารสั่งซื้อสินค้ามาส่งให้แก่แผนกบัญชี แผนกบัญชีก็จะไม่ทราบยอดการสั่งซื้อ
2. หากแผนกขายทำเอกสารการชำระเงินของลูกค้าหาย แผนกบัญชีก็จะไม่ทราบข้อมูลการชำระเงินของลูกค้า
3.หากแผนกขายได้ขายสินค้าไป โดยไม่ได้แจ้งให้แผนกบัญชีทราบจะทำให้ยอดขายกับยอดการเงินของบริษัทไม่เท่ากัน

 ปัญหาระหว่างแผนกงานขายกับแผนกคลังสินค้า
1. หากแผนกคลังสินค้าไม่ทราบยอดสินค้า แผนกขายก็จะไม่ทราบว่าจำนวนสินค้าว่าเพียงพอกับการขายหรือไม่
2. หากแผนกขายขายสินค้าไปโดยไม่แจ้งแผนกคลังสินค้าๆก็จะไม่ทราบจำนวนสินค้าที่เหลืออยู่ ทำให้เสียเวลาในการตรวจนับใหม่

ปัญหาระหว่างแผนกบัญชีกับแผนกคลังสินค้า
                ถ้าแผนกคลังสินค้าไม่ได้แจ้งยอดการคลังสินค้าให้แผนกบัญชีทราบ แผนกบัญชีก็ไม่สามารถทำงบการเงินได้ เพราะจะต้องทราบยอดสินค้าคงเหลือของแต่ละงวด

ปัญหาระหว่างแผนกซ่อมบำรุงกับแผนกคลังสินค้า
               ถ้าแผนกซ่อมบำรุง อุปกรณ์เครื่องมือหมดต้องไปเบิกแผนกคลังสินค้า ซึ่งอุปกรณ์บางชิ้นหมดไม่สามารถหาซื้อได้ และระยะเวลาในการสั่งซื้ออุปกรณ์นั้นๆ กินเวลาพอสมควร


 

ระบบสารสนเทศที่นามาใช้กับแผนกต่างๆ
ระบบ MIS ของแผนก บัญชีและการเงิน

หน้าที่หลัก
- งานรับ จ่ายเงิน
- งานพิมพ์เช็คสั่งจ่าย
- ควบคุมระบบคอมพิวเตอร์ ในการเงิน
- งานบัญชีขั้นต้น
- งานทะเบียนคุม
- งานใบสำคัญ
- รายงานงบการเงิน และรายงานงบเงินเดือน
- จัดทำรายการเงินงบประมาณ และรายงานเงินนอกงบประมาณ

ระบบรายงานประยุกต์
ระบบตรวจสอบบัญชี
ระบบตรวจจ่าย
ระบบการเงินและภาษี
ระบบการบริหารและระบบปฏิบัติการบัญชี

ระบบสารสนเทศสำหรับฝ่ายบัญชีและการเงิน

ระบบงาน
คำอธิบาย
ระดับการบริหารองค์กร
ระบบตรวจสอบบัญชี
คือจะจัดทำงบการเงินทุกสิ้นเดือนและมีการตรวจดูเอกสารหลักฐานและสินทรัพย์ต่างๆที่มีรูปร่าง จากนั้นทำการคำนวณตรวจสอบความถูกต้องในการบันทึกบัญชีขั้นต้น จำนวนยอดคงเหลือในบัญชี แยกประเภท คำนวณค่าเสื่อม หนี้สงสัยจะสูญ เป็นต้น จากนั้นตรวจสอบของการผ่านรายการในสมุดขั้นปลาย งบทดลอง ด้วยกรเรียกกันว่า การตรวจPosting
ระดับผู้บริหาร
ระบบการตรวจจ่าย
เงินงบประมาณ
จัดทำงบประมาณเงินเดือนและค่าจ้างทุกๆเดือน
จัดทำงานงบประมาณค่าตอบแทนค่าใช้สอย ค่าวัสดุ
จัดทำค่ารักษาพยาบาลพนักงาน
เงินนอกงบประมาณ
เงินนอกงบประมาณ ภาคพิเศษ
รายได้อื่นๆ
เงินสวัสดิการ
ระดับผู้กำหนดกลยุทธ์
ระบบการเงินและภาษี
จัดทำยื่นภาษีแบบประจำเดือน คือ
-จัดทำและยื่นภาษีเงินได้พนักงานหัก ณ ที่จ่าย (ภงด.1)
-จัดทำและยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภงด.3)
-จัดทำและยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย (ภงด.53)
-จัดทำและยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม-VAT (ภพ.30)
-จัดทำรายงานภาษีซื้อและรายงานภาษีขายประจำเดือน
-จัดทำและยื่นเงินสมทบประกันสังคมประจำเดือน
จัดทำและยื่นภาษีแบบประจำปี คือ
-จัดทำและยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลกลางปี (ภงด.51) และภาษีเงินได้นิติบุคคลสิ้นปี (ภงด.50) ต่อกรมสรรพากร
-จัดทำและยื่นแบบส่งงานการเงินต่อกระทรวงพาณิชย์ (สบช.3) และสำเนารายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5)
-จัดทำและยื่นภาษีหัก ณ ที่จ่ายพนักงานประจำปี (ภงด.1ก)
ระดับผู้ชำนาญการ
ระบบการบริหารและการปฏิบัติการบัญชี
 เป็นการตรวจสอบบัญชีระบบ Manualเพื่อสอบทานว่า หน่วยรับตรวจมีการจัดทำบัญชีถูกต้อง ครบถ้วนเป็นปัจจุบันตามระบบบัญชีเกณฑ์คงค้าง คือ ทุกสิ้นเดือนมีการจัดทำรายงานการเงิน ถูกต้องและมีรายละเอียดประกอบรายงาน รวมทั้งมีการวิเคราะห์รายงานการเงินเสนอผู้บริหารเพื่อเป็นข้อมูลในการพิจารณาสั่งการ
ระดับผู้ปฏิบัติการ

แบบจำลองขั้นตอนการทำงานของระบบจำ ลองขั้นตอนการทำ งานของระบบ

                 หลังจากโครงการพัฒนาระบบงานฝ่ายบัญชี ได้รับการอนุมัติแล้ว ทีมงานพัฒนาระบบจึงได้วิเคราะห์ความต้องการของระบบใหม่ที่รวบรวมมาได้จากผู้ใช้ระบบโดยสามารถจำลองได้ด้วยแผนภาพกระแสข้อมูล ดังนี้

แผ่นภาพบริบท



(รูปที่ 2)

อธิบาย Context Diagram

ผู้บริหาร
- ขอดูรายรับารยจ่ายของบริษัทระบบจึงรายงานข้อมูลเกียวกัยรายรับรายให้กับผู้บริหาร
- ผู้บริหารอยากรู้จำนวนพนักงานระบบจึงแจ้งข้อมูลของพนักงานให้กับผู้บริหาร
- ผู้บรหารอยากทราบการเลื่อนตำแหน่งพนักงานระบบจึงรายงานผลการเลื่อนตำแหน่งของพนักงานให้กับผู้บริหาร
- ผู้บรหารอยากทราบยอดขายของบริษัทระบบจึงรายงานผลการเลื่อนตำแหน่งของพนักงาน

พนักงานให้กับผู้บริหาร
อยากทราบว่าตนเองทำงานได้เงินเท่าไรระบบจึงรายงานผลการทำงานให้กับพนักงาน
พนักงานจะเปลี่ยนประวัติตัวเองระบบจึงวรายงานผลการเปลี่ยนประวัติให้กับพนักงาน
พนักงานแจ้งเรื่องขอหยุดงานระบบจึงรายงานผลการขอหยุดงานให้กับพนักงาน
พนักงานแจ้งเรื่องการลาออกระบบจึงรายงานผลการลาออกให้กับพนักงาน


ฝ่ายบุคคล
- อยากทราบยอดเงินการทำงานของพนักงานระบบจึงรายงานยอดเงินพนักงานให้ฝ่ายบุคคล
อยากทราบยอดพนักงานทำงานร่วงเวลาระบบจึงรายงานยอดของพนักงานทำงานรวงเวลาให้ฝ่ายบุคคล
อยากทราบเวลาการทำงานของพนักงานระบบจึงรายงานเวลาการทำงานพนักงานให้ฝ่ายบุคคล
แจ้งการขึ้นเงินเดือนของพนักงานระบบจึงรายงานแจ้งการขึ้นเงินเดือนให้ฝ่ายบุคคล

ธนาคาร
อยากทราบยอดเงินที่จะส่งระบบจึงแจ้งยอดเงินให้กับธนาคาร

แผ่นภาพระดับ 0

(รูปที่ 3)

อธิบายแผ่นภาพระดับ 0
                  เมื่อผู้บริหารต้องการทราบการเลื่อนตำแหน่งของพนักงานเมื่อเข่ามาในระบบจะแบ่งย่อยออกป็น 3 ระบบย่อยคือ ระบบบริหารพนักงาน ระบบบันทำกรายรับรายจ่ายและระบบคำนวณเงินเดือนมันจะเข่ามาที่ระบบบริหารพนักงานแล้วระบบก็แจ้งผลการเลื่อนตำแหน่งของพนักงานให้กับผู้บริหารทราบ

แผ่นภาพระดับ 1

(รูปที่4)

อธิบายแผ่นภาพระดับ 1
                 เมื่อมาที่อีกระดับหนึ่งระบบจะทำการเข้าที่ระบบบริหารพนักงานแล้วเมื่อเข้ามาภายในในระบบนี้ก็จะมีการสืบค้นข้อมูลและการเปลี่ยนแปลงข้อมูลระบบก็จะเข้าที่การสืบค้นข้อมูลแล้วระบบจะหาข้อมูลของการเลื่อนตำแหน่งของพนักงานไปที่แฟ้มการเลื่อนตำแหน่งเมื่อได้ข้อมูลที่ต้องการแล้วก็จะส่งข้อมูลให้กับผู้บริหาร

การออกแบบ Application
                มีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เดิมเป็นแบบ LAN ดังนั้นในการออกแบบ Application ขั้นตอนนี้ ทางทีมงานจึงเห็นควรว่า ระบบงานบัญชี สำหรับแผนกบัญชีนั้นจะเป็นแบบกระจาย เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับระบบเครือข่ายเดิม (LAN) ที่มีรูปแบบเป็น Client/Server โดยจะจัดเก็บฐานข้อมูลไว้ที่เครื่องแม่ข่าย (Server) ส่วนตัวโปรแกรม จะติดตั้งไว้ในส่วนงาน 3 ส่วน ดังนี้
             1. ผู้บริหาร สามารถเรียกดูข้อมูลได้ตามความต้องการ ทั้งนี้ผู้บริหารไม่สามารถแก้ไขข้อมูลพนักงานได้โดยตรง นอกจากจะทำ เป็นหนังสือสั่งการให้แผนกบุคคลดำ เนินงาน
             2. แผนกบุคคล ได้รับสิทธิ์ในการบันทึก ปรับปรุง แก้ไขข้อมูลผู้สมัครงาน พนักงานและอื่น ๆ ในระบบ PIS ได้โดยตรงเพื่อการบริหารงานด้านบุคคล
             3. แผนกบัญชี สามารถเรียกดูข้อมูลพนักงานได้เพียงบางส่วนที่เกี่ยวข้องเท่านั้นโดยผู้ใช้ทั้งสามส่วน จะได้รับ Login name และ Password แตกต่างกัน เพื่อเข้าสู่โปรแกรมของระบบ PIS ในการดำ เนินการใด ๆ กับข้อมูลของระบบจะเห็นว่าระบบ PIS สามารถตอบสนองความต้องการในระบบใหม่ของผู้ใช้ได้อย่างครอบคลุม รวมถึงความสามารถรองรับการทำ งานแบบ Multi-User ได้ ถึงแม้ว่าจะมีบางส่วนที่ยังไม่เป็นที่พอใจของผู้ใช้เท่าใดนัก แต่เป็นเพียงส่วนน้อยที่ผู้ใช้ยอมรับได้ ซึ่งจะได้รับการพัฒนาต่อไปพร้อมกันกับแผนงานในอนาคตที่จะพัฒนาระบบ PIS  ให้สามารถทำ งานบนระบบเครือข่ายอินทราเน็ต (Intranet) ได้ โดยทีมงานจะเลือกใช้Web Application ที่เหมาะสมในการพัฒนา เช่น ASP เป็นต้น ซึ่งบนระบบเครือข่ายอินทราเน็ตนี้ นอกจากผู้ใช้จะสามารถใช้โปรแกรมของระบบ PIS ร่วมกันผ่านทางเบราเซอร์ (Browser) แล้ว ยังสามารถส่งข้อความหรือข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งกันและกัน ภายในบริษัทโดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง อีกทั้งยังช่วยลดปริมาณการใช้กระดาษเพื่อส่งข่าวสารหรือข้อความได้อีกด้วย

ระบบสารสนเทศสำหรับ ฝ่ายขาย

หน้าที่หลัก 

            จัดทำกลยุทธ์การขาย
            บริหารเจ้าหน้าที่การตลาด
            ผลิตภัณฑ์ (Product)
            ราคา (Price)
            ช่องทางการจัดจำหน่าย (Place)
            การส่งเสริมการตลาด (Promotion)

ระบบงานประยุกต์      

      ระบบการวางแผนการขายและการตลาด
                  ระบบการขายสินค้า
                  ระบบสั่งซื้อสินค้า
                  ระบบในวงเงินสินค้า
                  ระบบชำระเงิน

      ระบบสารสนเทศสาหรับแผนก การขาย
ระบบงาน
คำอธิบาย
ระดับการบริหารองค์กร
ระบบการขายสินค้า
เป็นระบบที่ต้องให้รู้ถึงการขายสินค้าของแต่ละปี
ระดับผู้ปฏิบัติงาน
ระบบสั่งซื้อสินค้า
เป็นระบบขายที่จัดการข้อมูลเกี่ยวกับการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้า
ระดับผู้บริหาร
ระบบในวงเงินสินค้า
เป็นกระบวนการที่บริษัทต้องการรู้วงเงินของสินค้า
ระดับผู้ชำนาญการ
ระบบชำระเงิน
เป็นกระบวนการที่เมื่อลูกค้าสั่งซื้อสินค้าแล้วจะต้องไปทำการชำระเงิน
ระดับผู้ปฏิบัติงาน


ระบบสารสนเทศสำหรับ ฝ่ายสินเชื่อ
หน้าที่หลัก
            สืบค้นประวัติลูกค่า
            คำนวณยอดเงินในแต่ละเดือน
            ออกใบเสร็จ

ระบบงานประยุกต์      

      ระบบการวางแผนการขายและการตลาด
                  ระบบคำนวณค่าวงเงินอัตโนมัติ
                  ระบบการสืบค้นข้อมูลประวัติลูกค้า
                   ระบบการเปลี่ยนแก้ไขข้อมูล
ระบบงาน
คำอธิบาย
ระดับการบริหารองค์กร
ระบบคำนวณค่าวงเงินอัตโนมัติ
จะคำนวณเงินค่างวดแบบอัตโนมัติให้กับลูกค้า
ระดับผู้ปฏิบัติงาน
ระบบการสืบค้นข้อมูลประวัติลูกค้า
จะสืบค้นข้อมูลของลูกค้าแต่ละคนเพื่อดูประวัติ
ระดับผู้ชำนาญการ
ระบบการเปลี่ยนแก้ไขข้อมูล
คือการเปลี่ยนแปลงข้อมูลต่างๆ
ระดับผู้ชำนาญการ
การกำหนดความต้องการของระบบ
                เมื่อโครงการพัฒนาระบบสินเชื่อ ได้รับการอนุมัติจากการนำเสนอโครงการในขั้นตอนที่ผ่านมา ดั้งนั้นจึงเริ่มต้นด้วยความการเก็บรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากระบบเดิม ในการกำหนดความต้องการครั้งนี้ ทีมงานเลือกใช้วิธีการออกแบบสอบถาม (Questionnaire)
                • ออกแบบสอบถาม (Questionnaire)
                   บุคคลผู้ตอบแบบสอบถามคือ ผู้จัดการฝ่ายบัญชีการใช้แบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลในส่วนที่ต้องการพัฒนา เนื่องจากทีมงานสามารถควบคุมหัวข้อคำถามที่ต้องการรายละเอียดได้มากกว่าการสัมภาษณ์ ไม่ต้องมีกาจดบันทึก ไม่รบกวนเวลาทำงานของผู้จัดการฝ่ายบัญชีมากนัก สามารถเก็บข้อมูลได้มากตามการตั้งคำถามในแบบสอบถาม อีกทั้งผู้ตอบแบบสอบถามจะรู้สึกมีอิสระในการให้ข้อมูล
ข้อมูลและเอกสารของระบบงานเดิมที่รวบรวมได้ จากการที่ทีมงานได้เก็บรวบรวมข้อมูลของระบบเดิม ด้วยวิธีการออกแบบสอบถาม สามารถสรุปข้อมูลที่ได้รับดังนี้
          1. ข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ของระบบเดิม
          2. ความต้องการในระบบใหม่
          3. ตัวอย่างเอกสาร แบบฟอร์ม และรายงายของระบบเดิม

          1. ข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ของระบบเดิม ทางบริษัทใช้ระบบเครือข่าย LANประกอบด้วย
               1.1 เครื่องแม่ข่าย จำนวน 1 เครื่อง ใช้ซอฟต์แวร์เครือข่าย Windows  Server 2003
               1.2 เครื่องลูกข่าย จำนวน 10 เครื่อง ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows XP  และซอฟต์แวร์สำหรับงานสำนักงาน Microsoft Office 2003
                      - ฝ่ายการขายใช้ซอฟต์แวร์ Microsoft Excel ในการคำนวณยอดขายสินค้าของแต่ละวัน
                      - ฝ่ายบัญชีใช้ซอฟต์แวร์สำหรับงานบัญชี AccPccและใช้ Microsoft Excel สำหรับคำนวณเงินค่างวด และพิมพ์ใบเสร็จค่างวด
                      - ฝ่ายคลังสินค้าใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูประบบคลังสินค้า
                 1.3 อุปกรณ์ต่อพ่วง ได้แก่ เครื่องพิมพ์เลเซอร์จำนวน 3 เครื่อง

           2. ความต้องการในระบบใหม่ 
                 2.1 คำนวณค่างวดอัตโนมัติ
                 2.2 สามารถแจ้งเตือนเมื่อมีการขาดส่งเงินค่างวดเกินกำหนดได้อัตโนมัติ
                 2.3 สามารถคำนวณยอดเงินทั้งหมดที่ส่งแล้ว และยอดเงินค้างชำระคงเหลือ
                 2.4 สามารถค้นหาข้อมูลของลูกค้าได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้นความต้องการของระบบใหม่ของผู้ใช้ จากการรวบรวมความต้องการของระบบใหม่ทำให้ทีมงานได้ข้อมูลเพิ่มเติม จังได้นำมาวิเคราะห์หาขั้นตอนการทำงานของระบบใหม่ตามความต้องการดังนี้
                         1. สามารถเรียกดูข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น
                         2. สามารถแก้ไข ปรับปรุงข้อมูลได้โดยสะดวก
                         3. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
                         4. การจัดทำรายงานมีความสะดวกรวดเร็วขึ้น
                         5. พนักงานทุกฝ่ายสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้  เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการดังกล่าว สามารถแบ่งการทำงานออกเป็น ระบบดังนี้
                          1. ระบบการส่งเสริมการขาย จะสร้างความเชื่อมั่น และกระตุ้นการตลาด มุ่งสู่ผู้บริโภค และเป็นการสนับสนุนให้เกิดแรงจูงใจในการซื้อสินค้ากับทางบริษัท
                           2. ระบบสินเชื่อ เป็นระบบที่ทำการคำนวณค่างวดและค่าติดตามการค้างชำระค่างวด สำหรับ3. ระบบตรวจเช็คสินค้า เป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บสินค้า รวมทั้งการตรวจสอบสินค้าคงเหลือในคลังสินค้า ว่าสินค้าประเภทไหน เหลืออยู่จำนวนเท่าไหร่ จะได้ทำการสั่งซื้อสินค้าเหล่านั้นมาเก็บไว้ในคลังสินค้าเพื่อไม่ให้เกิดการขาดแคล
Context Diagram
(รูปที่ 5)

อธิบาย Context Diagram
                 จาก Context Diagram ของระบบสินเชื่อ ซึ่งสัญลักษณ์ Process จะใช้แทนการทำงานทุกขั้นตอนของระบบนี้ โดย External Agents ที่เกี่ยวข้องกับระบบ ได้แก่ ลูกค้า พนักงาน แหล่งสินค้า ซึ่งมีข้อมูลรับเข้าและส่งออกระหว่าง External Agents ดังกล่าวกับระบบ ทำให้ทราบโดยภาพรวมว่าระบบสินเชื่อนี้ทำอะไรได้บ้าง และเกี่ยวข้องกับใครบ้าง สามารถอธิบายเอกสารข้อมูลที่อยู่บน Dataflow เข้าและออกระหว่าง External Agents และระบบ ได้ดังนี้

1. ลูกค้า 
     - ชำระค่างวดเข้าสู่ระบบ
     - ภายในระบบจะมีขั้นตอนต่าง ๆ ในการคำนวณยอดชำระค่าสินค้า จากนั้นระบบจะทำการแจ้งจำนวนงวดที่ต้องชำระเงิน และยอดเงินรวมทั้งหมดให้ลูกค้าทราบ 

2. พนักงาน
     - เมื่อได้รับการชำระค่างวดจากลูกค้า ภายในระบบมีขั้นตอนการคำนวณยอดการชำระเงิน และยอดเงินรวมทั้งหมด โดยการคำนวณจากพนักงานเบื้องต้นเพื่อบันทึกข้อมูลยอดการชำระเงินของลงสู่ระบบ
     - ในการเก็บข้อมูลการชำระเงินของลูกค้าแต่ละครั้ง พนักงานขายสามารถดูข้อมูลเกี่ยวกับค่างวดต่อเดือนที่ลูกค้าจะต้องชำระในแต่ละเดือน และยอดเงินดาวน์ของลูกค้าได้จากทางหน้าจอ

3. ผู้จัดการ
    - ได้รับรายงานผลทางการเงินที่ลูกค้าทั้งหมดนำส่งในแต่ละเดือน

Dataflow Diagram


(รูปที่ 6)

อธิบาย Dataflow Diagram Level 0
               จาก Context Diagram สามารถแบ่งขั้นตอนการทำงานภายในระบบออกเป็น 2 ขั้นตอน ด้วยการวิเคราะห์จากความต้องการของผู้ใช้ที่รวบรวมมาได้ สำหรับการคำนวณค่างวดเกี่ยวข้องกับรายได้ของบริษัท ดังนั้นจึงแยก Process ที่เกี่ยวข้องกับระบบ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
               1. Process 1.0 
                   การขาย เป็นระบบที่จัดการกับลูกค้าในเรื่องของการแนะนำและการสั่งซื้อสินค้า สามารถอธิบายข้อมูลเข้าและออกจาก Process ดังนี้
                  - เมื่อลูกค้าสั่งซื้อสินค้าเข้ามา จะผ่านขั้นตอนภายในเพื่อตรวจสอบราคาสินค้าที่สั่งซื้อจากแฟ้มข้อมูลรายการสินค้าแล้วแจ้งราคาสินค้าให้แก่ลูกค้าทราบ จากนั้นระบบก็จะทำการจัดเก็บข้อมูลการสั่งซื้อสินค้าลงในแฟ้มข้อมูลรายการสินค้าดังกล่าว
                  - หลังจากมีการสั่งซื้อสินค้าเสร็จเรียบร้อยแล้วระบบก็จะทำการออกใบสั่งซื้อสินค้าให้กับลูกค้า
                  - เมื่อระบบได้รับการชำระค่าสินค้าด้วยเงินสดจากลูกค้า ระบบก็จะส่งใบเสร็จรับเงินให้แก่ลูกค้า
              2. Process 2.0 
                   ระบบสินเชื่อ เป็นระบบจัดการเกี่ยวกับข้อมูลการชำระเงินของลูกค้าทั้งหมด สมารถอธิบายข้อมูลเข้าและออกจาก Process ดังนี้
                  - เมื่อลูกค้ามีการชำระค่าสินค้าเป็นเงินผ่อน จะผ่านระบบสินเชื่อเพื่อทำการเก็บรวบรวมรายละเอียดของลูกค้าที่ต้องการซื้อสินค้านั้น เพื่อตรวจสอบกำลังในการซื้อ
                  - จากนั้นระบบจะแสดงค่างวดต่อเดือนให้พนักงานทราบ โดยพนักงานจะเป็นผู้บันทึกข้อมูลในการชำระเงินของลูกค้า เข้าไปในระบบสินเชื่อ
                 - เมื่อระบบได้รับการชำระค่าสินค้าจากลูกค้าแล้ว ก็จะนำข้อมูลการชำระเงินไปเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลการชำระเงิน
                  3. Process 3.0 
                      บัญชี เป็นระบบที่จัดการดูแลเกี่ยวกับเรื่องการเงิน สามารถอธิบายข้อมูลเข้าและออกจาก Process ดังนี้
                      - ระบบจะทำการดึงข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลการชำระเงินซึ่งมาจากการชำระค่าสินค้าของลูกค้าไม่ว่าจะเป็นการจ่ายเงินสด หรือการผ่อนจ่าย เพื่อดูสถานะทางการเงินของบริษัท
                      - จากนั้นระบบจะนำข้อมูลดังกล่าวไปเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลทางการเงิน เพื่อรวบรวมข้อมูลรายรับรายจ่ายของบริษัททั้งหมดแล้วจัดทำสรุปยอดกำไร-ขาดทุนต่อไป
                     - ผู้จัดการสามารถเรียกดูข้อมูลทางการเงินได้จากแฟ้มข้อมูลทางการเงินระบบการขาย

Dataflow Diagram Level 1 of Process 1.0 

(รูปที่ 7)

อธิบาย Dataflow Diagram Level 1 of Process 1.0
             Process 1.0
                 ระบบการขาย มีขั้นตอนการทำงานย่อยภายในทั้งหมด 3 ขั้นตอนหรือ 3 Process ดังนี้
                 1. Process 
                     1.1 สอบถามราคาสินค้า- กรณีที่ลูกค้าได้ทำการส่งรายการสินค้าที่ต้องการ ระบบก็จะทำการดึงข้อมูลสินค้าจากแฟ้มข้อมูลรายการสินค้าออกมาตรวจสอบราคาสินค้าและแสดงข้อมูลให้แก่ลูกค้าทราบ
                           - เมื่อลูกค้าทำการสั่งซื้อสินค้าจากนั้นทำการส่งรายการสินค้าที่สั่งซื้อไปยังขั้นตอนต่อไป
                 2. Process
                    1.2 จัดเตรียมสินค้า
                          - เมื่อรับรายการสินค้าที่สั่งซื้อมาจากขั้นตอนสอบถามราคาสินค้าแล้ว ก็จะเข้ากระบวนการจัดเตรียมสินค้าให้พร้อมรอส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกค้า
                 3. Process
                    1.3 ออกใบเสร็จ
                          - เมื่อทำการส่งมอบสินค้าและลูกค้าได้จ่ายยอดชำระค่าสินค้าเรียบร้อยแล้ว ก็จะทำการออกใบเสร็จรับเงินให้แก่ลูกค้า

Dataflow Diagram Level 1 of Process 2.0


(รูปที่ 8) 

ระบบสินเชื่อ
                อธิบาย Dataflow Diagram Level 1 of Process 2.0 Process 2.0 ระบบสินเชื่อ ขั้นการทำงานย่อยภายในทั้งหมด 2 ขั้นตอนหรือ 2 Process ดังนี้
                  1. Process 2
                      1.1 คำนวณค่างวด
                            - เมื่อลูกค้ามีการชำระค่าสินค้าเข้ามา ระบบก็จะทำการคำนวณค่างวดต่อเดือน ดอกเบี้ยรวม เงินต้นบวกดอกเบี้ย และยอดเงินรวมทั้งหมดต่อพนักงาน
                            - จากนั้นพนักงานจะทำการนำผลที่ได้จากการคำนวณไปทำการเก็บบันทึกข้อมูล
                   2. Process 
                      2.2 บันทึก
                            - เมื่อได้รับข้อมูลการคำนวณการชำระค่าสินค้าของลูกค้าจากพนักงาน ก็จะนำข้อมูลดังกล่าวมาทำการเก็บบันทึกข้อมูลทางการชำระเงินลงในแฟ้มข้อมูลการชำระเงิน

ระบบบัญชี

Dataflow Diagram Level 1 of Process 3.0

(รูปที่ 9)


อธิบาย Dataflow Diagram Level 1 of Process 3.0 Process 3.0 ระบบสินเชื่อ ขั้นการทำงานย่อยภายในทั้งหมด 2 ขั้นตอนหรือ 2 Process ดังนี้
               1. Process 
                   3.1 รวบรวมข้อมูล 
                         เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลทางการเงินของแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อจะนำมาจัดทำยอดสรุป โดย
                        - ทำการดึงข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลการชำระเงินของแต่ละเดือน รวบรวมมาเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลทางการเงินจนครบรอบบัญชี (ระยะเวลา 1 ปี) ถึงทำการปิดบัญชี
                2. Process 
                    3.2 ออกรายงาน 
                          เป็นการสรุปยอดผลกำไร โดย
                         - ดึงข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลทางการเงินที่เก็บรวบรวมจนครบรอบบัญชี มาทำการสรุปผลรายรับของบริษัท
        - จากนั้นทำการออกรายงานผลสรุปยอดการเงินเสนอให้ผู้จัดการรับทราบรายรับของบริษัท